วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

แทนทาลัม - ไนโอเบียม

 แทนทาลัม  (Ta) - ไนโอเบียม (Nb)
             แทนทาลัม (Ta)  เป็นโลหะสีเทา มีความถ่วงจำเพาะ  16.6  จุดหลอมเหลว  2996 0C  เป็นโลหะที่ทนไฟ  แข็งและมีความเหนียวใกล้เคียงกับเหล็กกล้า

             แหล่งที่พบ
                         แหล่งที่พบ  ไม่พบเกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ  แต่เกิดปนกับไนโอเบียม (Nb)  ไทเทเนียม (Ti)  และดีบุก (Sn)  นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดรวมกับยูเรเนียม (U)  และทอเรียม (Th)
             การถลุงแทนทาลัมและไนโอเบียม
                         นำตะกรันดีบุกมาบด  และละลายในกรดผสมระหว่างกรด  HF กับ  H2SO4  แล้วเติมเมธิลไอโซบิวทิลคีโทน (MIBK)  เพื่อละลายเอา  Ta  และ  Nb  แล้วเติมกรด  H2SO4  เจือจาง พบว่า  Nb  ละลายในชั้นของกรด แล้วแยกออกมาปรับให้เป็นกลางด้วยสารละลาย  NH3  จะได้ตะกอน  จากนั้นนำตะกอนไปเผาจะได้  Nb2O5
                         สำหรับ  Ta  ที่ยังละลายอยู่ในสารละลายเมธิลไอโซบิวทิลคีโตน    ซึ่งสามารถแยกออกมาได้โดยการผ่านไอน้ำเข้าไปละลาย  Ta  ออกมาในรูปของ  H2TaF7  จากนั้นเติมสารละลาย  NH3  จะได้ตะกอน  เมื่อนำไปเผาจะได้  Ta2O5 หรือถ้านำ  Ta  ที่ละลายอยู่ในชั้นของน้ำมาเติมสารละลาย  KCl  ทำให้ตกผลึกในรูป  K2TaF7

 การนำแทนทาลัมและไนโอเบียมไปใช้ประโยชน์
                         แทนทาลัม  (Ta)ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มนเครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องมือสื่อสาร เครื่องส่งสัญญาณกันภัย  เครื่องตั้งเวลา  Ta  ใช้ทำโลหะผสมสำหรับทำเครื่องบิน  จรวด  ขีปนาวุธ  อุปกรณ์เตาปรมาณู  ออกไซด์ ของแทนทาลัมใช้ทำเลนส์
                         ไนโอเบียม  (Nb)  ใช้ผสมกับเหล็กกล้าทำท่อส่งก๊าซ  วัสดุก่อสร้างของโรงงานเคมีภัณฑ์  และใช้ทำเลนส์ต่าง ๆ

             ผลเสียของการผลิตโลหะ  Ta  และ  Nb  คือ  ในการผลิตต้องใช้สารละลายกรดและเบส  ดังนั้น  จึงอาจมีกรดและเบสปนเปื้อนออกมากับน้ำทิ้ง หรือ กากตะกอน  ดังนั้นการป้องกันทำได้โดยการปรับให้เป็นกลางก่อน  นอกจากนั้นยังมีตะกรันดีบุกที่ใช้ผลิตแทนทาลัม และไนโอเบียม อาจมีสารกัมมันตรังสี เช่น  ยูเรเนียม (U ) และ ทอเรียม (Th)  ปนเปื้อนอยู่ด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น