วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ดีบุก

 ดีบุก (Sn)

                      ดีบุกเป็นโลหะสีขาวเป็นเงาคล้ายเงิน  มีความถ่วงจำเพาะ  7.3  มีจุดหลอมเหลว  232 0C  เป็นโลหะเนื้ออ่อน  แต่เหนียว  ที่อุณหภูมิ  100 0C  สามารถรีดเป็นเส้นได้  แต่ถ้าที่อุณหภูมิ  200 0C  ดีบุกจะเปราะ  ทุบแตกง่าย   ดีบุกมีอันยรูปหลายแบบ  เช่น  ดีบุกเทา  ดีบุกรอมบิก  และดีบุกสีขาว
             แหล่งที่พบ
                      พบในแร่แคสซิเทอร์ไรด์ (SnO2) แร่ดีบุกพบมากทางภาคใต้  นอกจากนั้นยังพบในภาคกลาง  และภาคเหนือ  แร่ดีบุกพบปนอยู่กับกากแร่อื่น ๆ เช่น  อินเมไนต์  เชอร์ดอน  โมนาไซด์  โคลัมไบต์  และซิไลต์
             การถลุงดีบุก
                      สินแร่ดีบุก (SnO2  ปนกับทราย SiO2 เป็นสารปนเปื้อน)  ผสมกับถ่านโค้ก และหินปูนด้วยอัตราส่วน  20 : 4 : 5  โดยมวล ใส่ในเตาถลุงแบบนอน  โดยใช้น้ำมันเตา  หรือใช้กระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งให้ความร้อน
                      ปฏิกิริยาการแยกดีบุกออกจากแร่  ดังนี้
                                C (s)  +  O2 (g)  ®  CO2 (g)
                                C (s)  +  CO2 (g)  ® 2CO (g)
                                2CO (g)  +  SnO2 (s)  ®  Sn (l)  +  2CO2 (g)
                      ปฏิกิริยาการแยกสารปนเปื้อน (SiO2)  ด้วยหินปูนดังนี้
                                CaCO3 (s)  ®  CaO (s)  +  CO2 (g)
                                CaO (s)  +  SiO2 (l)  ®  CaSiO3 (l)
                                                                                ตะกรัน
                      ดีบุกที่ถลุงได้  ต้องนำไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการ  Electrorefining  สำหรับขี้ตะกรันที่ได้  พบว่ามีดีบุกปนอยู่อีกมาก  สามารถนำไปถลุงเพื่อแยกดีบุกออกได้อีก
             การนำดีบุกไปใช้ประโยชน์
                      ดีบุกผสมกับตะกั่ว  ทำตะกั่วบัดกรี  ดีบุกฉาบแผ่นเหล็กทำกระป๋องบรรจุอาหาร  ดีบุกผสมกับโลหะอื่น ๆ เป็นโลหะผสม (Alloy)  เช่น  ผสมกับกับทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์  ผสมกับทองแดงและพลวงใช้เป็นโลหะผสมทำภาชนะต่าง ๆ สารประกอบดีบุก  เช่น  SnCl4 .5H2O  ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ  เครื่องแก้ว  ย้อมสีไหม  กระดาษพิมพ์ที่ไวต่อแสง  เช่น  กระดาษพิมพ์เขียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น