วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เซอร์โคเมียม

        เซอร์โคเนียม  (Zr)
             เซอร์โคเนียม  (Zr)  เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลว  1852  0C  จุดเดือด  4377  0C
             แหล่งที่พบ
             เซอร์โคเนียมพบในรูปแร่เซอร์คอน  (ZrSiO4)  ตามแหล่งแร่ดีบุก  บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
             การถลุงเซอร์โคเนียม
             ทำได้โดยการนำสินแร่เซอร์คอน (ZrSiO4) มาหลอมเหลวกับโซเดียมออกไซด์  (Na2O)  ได้โซเดียมเซอร์โคเนียมซิลิเกต (Na2ZrSiO3)  และทราย  (SiO2)  ที่ปนเปื้อนจะถูกเปลี่ยนเป็น  Na2SiO3  แล้วสกัดด้วยน้ำร้อนเพื่อละลาย  Na2SiO3  ส่วน  Na2ZrSiO3  ซึ่งไม่ละลายน้ำจะตกตะกอน  กรองแยกตะกอนออก แล้วนำตะกอนนี้ไปละลายในสารละลายกรดซัลฟิวริกเจือจางที่ร้อน  ได้สารละลาย  Na2SO4  และ  Zr(SO4)2  ทำให้เป็นกลางด้วยสารละลาย  NH3  เข้มข้น Zr(SO4)2     จะเปลี่ยนเป็น  Zn(OH)4  ซึ่งไม่ละลายน้ำ  กรองแยกตะกอนไปเผาที่  900 0C  จะได้  ZrO2  มีลักษณะเป็นสีขาวหนัก  ไม่มีกลิ่น  มีจุดหลอมเหลวประมาณ  2680  0C

  การนำเซอร์โคเนียมไปใช้ประโยชน์
             เซอร์โคเนียมนำไปใช้ประโยชน์ในรูปสารประกอบ  เช่น  ZrO2  ใช้เคลือบสีสำหรับเซรามิกส์  ZrO2  ที่มี  Y2O3  ปน  5 %  เป็นสารที่เรียกว่า  PSZ  (Partially  Stabelized Zirconia)  และ  PSZ  ก็ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์  ทำให้เซรามิกส์ทนความร้อนได้ถึง   2400  0C  ซึ่งไม่นำไฟฟ้า  จึงใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องยนต์ไอพ่น  และจรวด  ทำถ้วยกระเบื้องมนไฟในห้องปฏิบัติการ  ทำอิฐทนไฟสำหรับเตาหลอมโลหะ  ทำฉนวนกันไฟฟ้าแรงสูง  ทำชิ้นส่วนของหัวเทียนรถยนต์  ใช้เป็นชิ้นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น